กระจก
กระจก คือวัสดุตกแต่งบ้านที่สำคัญอย่างหนึ่ง กระจก สามารถช่วยทำให้การตกแต่งบ้านให้สวยงามได้ ดังนั้น กระจก จึงเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้งานในการก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมกันอย่างแพร่หลาย กระจก จึงเป็นสิ่งที่สามารถเลือกซื้อได้ตามร้านค้าที่จัดจำหน่ายกระจกทั่วไป ซึ่ง ชนิดของกระจก หรือ ประเภทกระจก นั้นมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ราคากระจกก็ไม่แพงมากนัก รวมไปถึงการติดตั้งกระจกที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน แต่เพื่อความมั่นใจ และไม่ทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง ควรเลือกซื้อกระจกกับทำการติดตั้งคู่กัน นั้นหมายถึง เราควรจะซื้อ กระจก จากบริษัทที่รับติดตั้ง กระจก ให้ด้วย และควรเลือกบริษัทที่มีความเป็นมืออาชีพชำนาญงานด้านการติดตั้ง กระจก แต่หากจะซื้อ กระจก เพื่อมาเป็นของตกแต่งบ้านแล้ว ก็ควรจะศึกษาวิธีการดูแลรักษา กระจก ควบคู่ไปด้วย เพื่อที่ กระจก จะได้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
กระจก มีหลากหลายชนิด แต่โดยทั่วไป ประเภทกระจก หรือ ชนิดของกระจก ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ กระจกใส กระจกโปร่งแสง กระจกทึบแสง และ กระจกเงา
กระจกใส คือ กระจกที่สามารถมองทะลุผ่านกระจกไปได้
กระจกโปร่งแสง คือ กระจกที่แสงจากดวงอาทิตย์สามารถส่องผ่านได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นทะลุไปยังอีกฝั่งได้อย่างเช่น กระจกใส นอกจากวัตถุนั้นเข้ามาใกล้ กระจกโปร่งแสง จนชิดมากๆ
กระจกทึบแสง คือ กระจกที่แสงจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถทะลุผ่านได้ และเราก็ไม่สามารถมองผ่านทะลุผ่านกระจกได้เลย
กระจกเงา คือ กระจกทึบแสง ที่ฉาบสารเคลือบที่ กระจก ทำให้เป็นเงาสามารถฉายภาพสะท้อนออกมาจากกระจกได้ กระจกเงา เป็น ชนิดของกระจก ที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปทุกวัน เพราะเป็น ชนิดของกระจก ที่นิยมติดตั้งกันในห้องน้ำ เพื่อส่องหน้า หรือติด กระจกเงา กับตู้เสื้อผ้าเพื่อดูลความเรียบร้อยของการแต่งตัว กระจกเงา ประเภทกระจก ที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่สำคัญกับสินค้ามากมาย อาทิเช่น กระจกมองข้างและกระจกส่องหลังของรถยนต์ทุกประเภท
ชนิดของกระจก ประเภทกระจก
ชนิดของกระจก ประเภทกระจก ที่มีขายตาม ร้านขายกระจก บริษัทขายกระจก ร้านรับติดตั้งกระจก ร้านรับตัดกระจก รวมถึงโรงงานผลิตกระจกนั้น สามารถแยก ประเภทกระจก ได้เป็น7ประเภทหลัก ได้แก่ กระจกธรรมดา เป็นกระจกที่นิยมใช้งานทั่วไป หรือนำไปทำเป็นกระจกเคลือบสีเพื่อใช้ในการปูผนัง หรือเจียรบากให้ได้ตามรูปแบบที่ต้องการ กระจกเทมเปอร์ เป็นกระจกที่มีความแข็งแรงมากกว่ากระจกธรรมดาถึง 5 เท่า มีความทนทาน ไม่แตกหักง่าย สามารถทนต่อแรงกระแทกและทุกสภาวะอากาศ จึงเหมาะจะใช้งานในสถานที่ที่ต้องเสี่ยงต่อการกระทบกระเทือน หรือมีสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย กระจกลามิเนต เป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่งที่หากเกิดการแตกหักเศษกระจกจะยังคงยึดติดกันอยู่ระหว่างแผ่นกระจก โดยกระจกลามิเนตทำจากการนำกระจกสองแผ่นขึ้นไปมาประกบติดกันด้วยฟิลม์ PVB หรือ EVA นิยมนำมาใช้งานในสถานที่ที่ต้องการความปลอดภัย กระจกใสพิเศษ นิยมนำมาใช้งานตกแต่งทั้งภายในและภายนอกอาคารรวมทั้งงานเฟอร์นิเจอร์ประเภทกระจกด้วย กระจกลวดลาย ผลิตด้วยการพิมพ์ลายลงบนผิวกระจกด้วยลูกกลิ้ง ตามดีไซน์ของผู้ผลิตหรือผู้ที่สั่งทำ นิยมนำมาใช้ตกแต่งภายใน กระจกประตู กระจกหน้าต่าง กระจกเฟอร์นิเจอร์ หรือใช้เป็นกระจกผนังแทนวอลเปเปอร์ได้ด้วย กระจกฝ้า จะเน้นความไม่โปร่งใส ให้ความเป็นส่วนตัว นิยมนำมาใช้ในห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ ตู้อาบน้ำ หรือฉากกั้นอาบน้ำ และกระจกเงา มีความนิยมมากที่สุด นอกจากจะใช้สะท้อนเงาของตัวเราเองหรือสิ่งของแล้ว ยังสามารถดีไซน์ให้มีความสวยงามในงานตกแต่งภายในและภายนอกอาคารได้อีกด้วย
กระจก สามารถนำมาใช้ในงานทั่วๆได้หลากหลายรูปแบบเช่น กระจกหน้าจ่าง กระจกประตู กระจกกำแพงอาคารสูงตลอดจน กระจก ส่องหน้าในชีวิตประจำวันทั่วไป ในการก่อสร้าง กระจก เป็นอีกทางเลือกที่เพิ่มความสว่างไสวให้กับอาคารบ้านเรือน กระจก นิยมใช้ตกแต่งภายในอาคารเพื่อความสวยงาม รวมถึงการใช้ กระจก ในอุตสาหกรรมยานยนต์ก็เป็นสิ่งที่แพร่หลายอย่างมาก วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต กระจก ประมาณ 80% ได้มาจากแหล่งผลิตในประเทศ ได้ก่ ทรายแก้ว (silica sand) หินฟันม้า หินโดโลไมต์ (dolomite) เศษกระจก (cullets) และวัตถุดิบที่นำเข้าจาก ต่างประเทศ ได้แก่โซดาแอช ผงคาร์บอน ผงเหล็ก โซเดียมซัลเฟต
ขั้นตอนการผลิต กระจก จะเริ่มจากการนำวัตถุดิบซึ่งได้แก่ ทรายแก้ว หินฟันม้า หินโดโลไมต์ เศษกระจก โซดาแอช หินปูน และโซเดียมซัลเฟตมาผสมเข้าด้วยกันตามอัตราส่วน แล้วนำส่วนผสมที่ได้นั้นไปใส่ในเตา ที่มีอุณหภูมิ 1,500 องศาเซลเซียส จนส่วนผสมต่าง ๆ เกิดการหลอมละลายจนได้น้ำแก้ว (เชื้อเพลิงได้แก่ น้ำมันเตาซึ่งใช้แทนถ่านหิน) หลังจากนั้น จะปรับอุณหภูมิของน้ำแก้วให้เหลือประมาณ 1,100 องศาเซลเซียสจนมีความหนืดพอเหมาะต่อการขึ้นรูปน้ำแก้ว จะถูกนำไป ผ่านกระบวนการที่ทำให้เป็นแผ่นโดยวิธีการปล่อยให้ไหลลงไปฟอร์มตัวเป็นแผ่นกระจกบนผิวดีบอกแหลม เสร็จแล้วจะได้แผ่นกระจก ที่เรียกว่า กระจกโฟลต มีคุณสมบัติดีกว่าแผ่นกระจกที่ผลิตโดยระบบอื่น ๆ คือผิวของแผ่นกระจก จะเรียบ ไม่เป็นคลื่น มีความหนาสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ผิวสุกใส แวววาว ไม่ขุ่นมัว ซึ่งเราสามารถแยกอุตสหกรรมการผลิตกระจกแผ่นได้ออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ อุตสาหกรรมกระจกแผ่น และ อุตสาหกรรมกระจกต่อเนื่อง
กระจกแผ่น
กระจก พื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปจะผลิตภายใต้อุตสาหกรรมกระจกแผ่นโดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ กระจกโฟลต และกระจกชีต
กระจกโฟลต (float glass) ได้มาจากกระบวนการผลิตที่เรียกว่า กระบวนการโฟลต (float process) เป็นกระจกที่มีคุณภาพดีเยี่ยม มีผิวทั้งสองด้านเรียบสนิท เป็นกระจกที่มีความโปร่งใส มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการขูดขีดเป็นรอยได้ดี มีความหนาประมาณ 2 ถึง 19 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ใช้งานกับประตู หน้าต่างอาคาร ตู้แสดงสินค้า ใช้กับการก่อสร้างที่ต้องการผนังเป็นกระจกขนาดใหญ่
กระจกชีต (sheet glass) คือ กระจก ที่มีคุณภาพด้อยกว่า กระจกโฟลต เล็กน้อย โดยกระจกชีตจะเป็นกระจกแผ่นเรียบ นิยมใช้ในงาน ประตู หน้าต่าง สำหรับบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงานต่างๆ รวมไปถึงการใช้ทำกรอบรูปด้วยเช่นกัน กระจกชีต สามารถแยกออกเป็นประเภทต่างๆอีกดังนี้ กระจกใส กระจกสี กระจกฝ้า (เป็นกระจกชีตที่นำมาขัดฝ้าที่ผิวใช้เป็นฝากั้นห้องหรือประตู) และกระจกดอกลวดลายที่มีลวดลายพิมพ์ลงด้านหนึ่งด้านใดของกระจก สามารถมองผ่านได้สลัว ๆ มีคุณสมบัติกึ่งทึบกึ่งใส เหมาะกับงานตกแต่งภายใน เช่น โคมไฟ บานประตู หน้าต่าง และภายนอกอาคาร
กระจกต่อเนื่อง
กระจก นิยมใช้ในลักษณะที่ต่างกัน กระจก จึงต้องนำมาเพื่อคุณสมบัติเพิ่มอีก อุตสาหกรรมกระจกต่อเนื่องเป็นการนำกระจกโฟลตและกระจกชีตมาแปรรูป เพื่อประโยชน์ใช้สอยตามคุณสมบัติและลักษณะงานที่แตกต่างกันได้แก่
กระจกเงา (mirror glass) ได้จากการฉาบโลหะเงินลงไปที่ด้านใดด้านหนึ่งของ กระจกโฟลตชนิดใส หรือ กระจกโฟลตสีตัดแสง แล้วนำมาเคลือบด้วยสารโลหะทองแดงเป็นการป้องกันโลหะเงินอีกชั้นหนึ่ง เพื่อความทนทานในการใช้งาน และเคลือบทับด้วยสีที่มีคุณภาพและมีความหนาที่เหมาะสม สีที่เคลือบแต่ละชั้นจะผ่านการอบแห้งด้วยความร้อนสูงทำให้การยึดติดกันระหว่างชั้นต่าง ๆ ดีขึ้น
กระจกสะท้อนแสง (heat reflection glass) คือ การนำกระจกแผ่นใสมาเคลือบด้วยออกไซด์ของโลหะ ขนาดความหนาของการเคลือบขึ้นอยู่กับระดับความเข้มของแสงที่ส่องผ่าน กระจกสะท้อนแสงมีคุณสมบัติด้านการสะท้อนแสงได้ดี เมื่อมองจากภายนอก อาคารจะคล้ายกระจกเงา หากมองจากภายในอาคารจะคล้ายกระจกเงา หากมองจากภายในอาคารจะคล้ายกระจกสีตัดแสง
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (architectural flat tempered safety glass) คือ การนำกระจกแผ่นธรรมดามาเผาที่มีอุณหภูมิ 650 ถึง 700 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลมเป่าทั้งสองด้านเพื่อให้กระจกเย็นลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวของกระจกจะอยู่ในสภาพแรงอัด ขณะที่ภายในของกระจกอยู่ในสภาวะแรงดึง ด้วยผิวที่อยู่ในสภาวะแรงอัด เมื่อกระจกถูกกระแทกหรือทุบจนแตก แผ่นกระจกจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็ก ๆ ที่ไม่มีคม มีความแข็งกว่ากระจกธรรมดา 2 ถึง 3 เท่า นิยมใช้งานกับยานพาหนะ หรือส่วนของอาคารที่ง่ายต่อการถูกกระแทก กระจก ประเภทนี้สามารถเห็นในชีวิตประจำวันได้ง่ายนั้นคือ กระจกหน้ารถยนต์ กระจกหลังคากันสาด กระจกสกายไลท์
กระจกนิรภัยหลายชั้น (architectural flat laminaty safeted glass) เป็นกระจกที่เพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้มากขึ้น มีขั้นตอนการผลิตดังนี้
• การเตรียมกระจก โดยการคัดเลือกกระจกที่มีคุณสมบัติดี และไม่มีตำหนิ เลือกความหนา ความกว้าง และความยาว แล้วตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
• การทำความสะอาดกระจก ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้เครื่องล้าง ซึ่งต้องใช้น้ำสะอาดล้าง ขัดและเป่ากระจกให้แห้ง
• การเข้าประกอบวัสดุคั่นกลางกระจก โดยการนำฟิล์มโพลีไวนีลบิวไทราล (polyvinyl butyral) ที่มีคุณสมบัติเหนียวและแข็งแรงมาปิดทับหน้ากระจกที่ผ่านการทำความสะอาดแล้ว และนำกระจกอีกแผ่นมาประกบลงบนกระจกแผ่นแรก ดึงฟิล์มให้ดึงและประกอบกระจกให้ขอบเสมอกันทุกด้านแล้วตัดฟิล์มส่วนเกินทิ้ง
• การอัดประกบ กระจกที่ประกอบกับวัสดุคั่นกลางแล้ว จะถูกอัดประกบโดยใช้ความร้อนที่มีอุณหภูมิ 120 ถึง 130 องศาเซลเซียส แล้วใช้ลูกกลิ้งรีดกระจกทั้งสองแผ่นให้ติดสนิทกัน
• การอบ กระจกที่อัดประกอบแล้วจะเป็นกระจกกึ่งสำเร็จรูป คือเนื้อฟิล์มจะใสขึ้นแต่ยังไม่ใสมาก จึงต้องนำเข้าเตาอบใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เตาอบใหญ่เป็นเตาอบซึ่งอบกระจกโดยควบคุมความร้อนและความดันจนได้กระจกที่ใสมากจนไม่สามารถมองเห็นแผ่นฟิล์มได้
• กระจกนิรภัยหลายชั้นมีคุณสมบัติป้องกันขโมยอย่างได้ผล เพราะยากแก่การเจาะผ่าน และเมื่อเกิดการกระแทกหรือชนอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนที่แตกจะไม่หลุดออกจากกัน ยังคงสภาพเดิม เพียงแต่มีรอยร้าวเกิดขึ้น
กระจกฉนวน (sealed insulating glass) เป็นกระจก 2 แผ่นหรือมากกว่าวางคู่ขนานกัน มีระยะห่างพอสมควร ขอบกระจกทุกด้านมีสารจำพวกการบรรจุอยู่เพื่อให้กระจกคงรูป และป้องกันอาหาศชื้นจากภายนอกที่จะเข้ามาในช่องว่างระหว่างแผ่นกระจก มีประสิทธิภาพมากกว่ากระจกธรรมดา 2 เท่า มีคุณสมบัติสามารถลดปริมาณความร้อนที่ส่งผ่านกระจก ลดระดับเสียงที่ผ่านผนังอาคารลง เหมาะสำหรับห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ห้องคอมพิวเตอร์
กระจกเสริมลวด (wired glass) เป็นกระจกที่มีเส้นลวดแผงตาข่ายลวดฝังภายในกระจก จัดเป็นกระจกนิรภัยชนิดหนึ่ง เมื่อแตก เส้นลวดจะช่วยยึดเศษกระจกไม่ให้หลุดลงมา ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ มี 2 ชนิดคือ กระจกชนิดขุ่น (โปร่งแสง) และชนิดใส (โปร่งใส)
กระจกกันกระสุน เป็นกระจกที่ผลิตโดยการนำกระจกนิรภัยชนิดพิเศษมาติดกับกระจกนิรภัยหลายชั้น โดยมีแผ่นพิมพ์-พลาสติกขั้นกลาง (ได้แก่ โพลีคาร์บอเนต โพลีไวนีลบิวไทราล)
LEAVE A REPLY